เตรียมเงินเดินทางไปเขาใหญ่เท่าไรดี?
ฉบับคนไม่มีรถยนต์ส่วนตัว
ใคร ๆ ก็ไปเที่ยวเขาใหญ่ พื้นที่ยอดฮิตช่วงปลายปี ให้ร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานได้สัมผัสลมหนาวและสายหมอก เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก สามารถจัดทริปเดินทางในระยะเวลาที่จำกัด ช่างลงตัวกับไลฟ์สไตล์ของมนุษย์เงินเดือนตัวเล็กในเมืองใหญ่ที่ต้องการให้รางวัลชีวิตตัวเองในรูปแบบของการท่องเที่ยว แต่ดันติดที่...งบเงินและรถยนต์
ฮ้อปขอแนะนำวิธีการเดินทางไปเขาใหญ่ แบบฉบับคนไม่มีรถยนต์ส่วนตัว พร้อมกับค่าใช้จ่ายโดยประมาณ มาดูกันว่าวิธีไหนคุ้มค่าและเหมาะสมกับทริปที่สุด
วิธีเดินทางไปเขาใหญ่
วิธีที่ 1 ใช้บริการฮ้อปคาร์
Haupcar บริการคาร์แชร์ริ่งที่สะดวกรวดเร็วผ่านสมาร์ทโฟน สามารถจองผ่านระบบแอปพลิเคชันได้ง่ายๆ โดยเลือกจุดรับรถที่ใกล้ที่สุด สะดวกสุด ไม่มีค่ามัดจำ เริ่มที่กรุงเทพฯ ไปหยุดที่เขาใหญ่ ไม่ต้องต่อรถให้วุ่นวาย ยิ่งไปกันเยอะค่าเดินทางก็ยิ่งน้อยลง เพราะตัวหารค่ารถเพิ่มมากขึ้น
เงินสำหรับการเดินทางที่ต้องเตรียม
คนละประมาณ 600 - 3,000 บาท รวมค่าน้ำมันแล้ว (ไม่มีค่ามัดจำ)
ลองคำนวณให้ดูคร่าวๆ กรณีเดินทางไปเขาใหญ่หนึ่งคืน รวมค่าน้ำมัน 480 กิโลเมตร (ไปกลับกรุงเทพ-เขาใหญ่ อยู่ที่ประมาณ 244 กิโลเมตร) ยังเหลือระยะวิ่งให้ท่องเที่ยวต่อได้อีก
ถ้าไปกันเป็นกลุ่มจะคุ้มค่าสุดๆ ขนสัมภาระไปได้เยอะ คล่องตัว มีอิสระในการเดินทาง ส่วนตัวมากกว่า และไม่ต้องเดินทางหลายต่อ
แล้วสมมติว่าจัดทริปไปเช้าเย็นกลับจะอยู่ที่ประมาณ 2,380 บาท ไปกันสี่คนจะอยู่ที่ 595 บาทเท่านั้นเอง
------------------------
ดาวน์โหลดแอปฮ้อปคาร์: https://app.haupcar.com/getapp
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line: @haupcar
หรือคลิก http://bit.ly/LineAtHaupcar
วิธีที่ 2 รถทัวร์ รถโดยสารปรับอากาศ
ทางเลือกของคนที่อยากเก็บแรงสำหรับเดินทาง แล้วค่อยไปลุยกันต่อที่เขาใหญ่
ต่อแรก
รถทัวร์แบบ VIP กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ราคาประมาณ 250 บาท หรือที่สถานีขนส่งหมอชิต2 ใกล้กับจตุจักร มีรถทัวร์ทั้งแบบธรรมดา, รถปรับอากาศชั้น 1 และ ชั้น 2 ไปลงที่สถานีขนส่งปากช่อง ระยะเวลาเดินทาง 2.15 ชั่วโมง
ต่อสอง
รถสองแถวสีฟ้าแบบหกล้อ ไปลงปากทางเข้าอุทยาน คนละ 30 บาท
หรือ เช่ามอเตอร์ไซค์เกียร์ออโตวันละ 350 บาท (วางมัดจำ 2,000 บาท)
หรือ เช่ารถยนต์วันละ 1500 บาท ไม่รวมค่าน้ำมัน (วางมัดจำ 5,000 บาท)
ต่อสาม
เดินเท้าเข้าอุทยาน หรือโบกรถไปต่อ ค่าผ่านประตู ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท
ส่วนคนที่เช่ารถ ก็จะต้องเสียค่านำยานพาหนะเข้าอุทยาน มอเตอร์ไซค์ 30 บาท รถยนต์ 50 บาท
เงินสำหรับการเดินทางที่ต้องเตรียม
ประมาณ 1,100 - 2,800 บาท ยังไม่รวมค่ามัดจำรถยนต์
วิธีที่ 3 รถตู้กรุงเทพ-ปากช่อง
เหมาะสำหรับคนเร่งรีบ ไม่ชอบรอนาน วิ่งครู่เดียวถึงปากช่อง
ต่อแรก
รถตู้ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ข้างสวนสันติภาพ ซ. 3 (เทวดาพลาซ่า) ราคาประมาณคนละ 160 บาท หรือรถตู้เทวดา ขึ้นที่หมอชิต2 ราคาประมาณคนละ 180 บาท ลงที่ไนท์พลาซ่าปากช่อง ระยะเวลาเดินทาง 2 ชั่วโม
ต่อสอง
รถสองแถวสีฟ้าแบบหกล้อ ไปลงปากทางเข้าอุทยาน คนละ 30 บาท
หรือ เช่ามอเตอร์ไซค์เกียร์ออโตวันละ 350 บาท (วางมัดจำ 2,000 บาท)
หรือ เช่ารถยนต์วันละ 1500 บาท ไม่รวมค่าน้ำมัน (วางมัดจำ 5,000 บาท)
ต่อสาม
เดินเท้าเข้าอุทยาน หรือโบกรถไปต่อ ค่าผ่านประตู ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท
ส่วนคนที่เช่ารถ ก็จะต้องเสียค่านำยานพาหนะเข้าอุทยาน มอเตอร์ไซค์ 30 บาท รถยนต์ 50 บาท
เงินสำหรับการเดินทางที่ต้องเตรียม
คนละประมาณ 850 - 2,750 บาท ยังไม่รวมค่ามัดจำรถยนต์
วิธีที่ 4 รถไฟ
วิถีสโลว์ไลฟ์ ใช้เวลาเดินทางหลายชั่วโมง ไม่เหมาะกับทริปวันเดียวไปเช้าเย็นกลับ แต่เป็นวิธีเดินทางที่ใช้เงินน้อยสุด เพราะรถไฟไปปากช่องบางขบวนเป็นรถไฟฟรี
ต่อแรก
รถไฟเส้น หัวลำโพง-ปากช่อง รถไฟชั้น 3 ราคาประมาณ 86 บาท
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง
ต่อสอง
รถสองแถวสีฟ้าแบบหกล้อ ไปลงปากทางเข้าอุทยาน คนละ 30 บาท
หรือ เช่ามอเตอร์ไซค์เกียร์ออโตวันละ 350 บาท วางมัดจำ 2,000 บาท
หรือ เช่ารถยนต์วันละ 1500 บาท ไม่รวมค่าน้ำมัน (วางมัดจำ 5,000 บาท)
* แนะนำให้เช่ารถในต่อที่สองครับ เพราะกว่ารถไฟจะไปถึงจะค่อนจะเลยช่วยบ่ายแล้ว
ต่อสาม
เดินเท้าเข้าอุทยาน หรือโบกรถไปต่อ ค่าผ่านประตู ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท
ส่วนคนที่เช่ารถ ก็จะต้องเสียค่านำยานพาหนะเข้าอุทยาน มอเตอร์ไซค์ 30 บาท รถยนต์ 50 บาท
เงินสำหรับการเดินทางที่ต้องเตรียม
คนละประมาณ 600 - 2,500 บาท ยังไม่รวมค่ามัดจำรถยนต์
#Carsharing #คาร์แชร์ริ่ง #EVcar #อีวีคาร์ #รถยนต์ไฟฟ้า #รถยนต์พลังงานไฟฟ้า #ฮ้อปคาร์ #รถเช่าติดรถไฟฟ้า #รถเช่ากรุงเทพ #รถเช่าเชียงใหม่ #รถเช่า24ชั่วโมง #รถเช่า24ชม #รถเช่ารายชั่วโมง #รถเช่ารายวัน #เทศกาลไหนก็ใช้ฮ้อป #มีรถใช้ไม่ต้องซื้อ #ชีวิตที่เลือกได้ #ทางเลือกใหม่ในการเดินทาง #รถเช่าสนามบิน
Wow that a really wonderful blogs, i really appreciate it.
24kbet
In geometry dash meltdown, users manipulate a cube to clear obstacles by jumping over them. Every time a collision takes place, you'll have to quit the game due to the sharp triangular geometric blocks and flexible moving creatures. The objectives of the tasks are to assess the player's focus and control. The placement of the obstacles is intentional, fitting this fallen planet.