องค์การสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้ ประชากรโลกกว่า 70 เปอร์เซ็นต์จะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ เพิ่มจากในปัจจุบันที่คิดเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก การกระจุกตัวของผู้คนในลักษณะนี้จะทำให้อัตราการบริโภคสูงขึ้น เมื่อผนวกกับข้อจำกัดทางพื้นที่ของเมืองใหญ่ที่ขาดการวางแผน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรและส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เมืองใหญ่สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน หลายประเทศทั่วโลกต่างเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเมืองใหญ่ให้กลายเป็น Smart City เพื่อรองรับชีวิตยุคดิจิทัล เน้นการดูแลจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
Smart City คืออะไร
Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัยมาใช้อย่างชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเมืองและการจัดสรรทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ภายใต้แนวคิดหลักใน การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรและลดการปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยแนวคิดดังกล่าว Smart City จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ เพราะหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเมืองให้เติบโตอย่างยั่งยืน คือ พลเมืองในพื้นที่มีจิตใจที่อยากจะช่วยเหลือ ยินดีแบ่งปันทรัพยากร และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
(https://www.smartcitythailand.or.th/)
Smart City ที่ดีต้องพัฒนาให้ครบ 7 ด้านที่สำคัญ
Smart Environment - สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ
Smart Community - ชุมชนอัจฉริยะ
Smart Mobility - การสัญจรอัจฉริยะ
Smart Economy - เศรษฐกิจอัจฉริยะ
Smart Energy - พลังงานอัจฉริยะ
Smart Building - อาคารอัจฉริยะ
Smart Governance - การปกครองอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยกลายเป็นพื้นที่ตันแบบของ Smart City
'เยาวชนคืออนาคตของชาติ' เมื่อต้องการให้พลเมืองของ Smart City สามารถปรับตัวเข้าโลกที่ต้องแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงจำเป็นต้องเริ่มพัฒนาจากในรั้วมหาวิทยาลัย ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ Thammasat Smart City โดยนำเทคโนโลยีมาสร้างคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีภายในสถานศึกษา ด้วยการร่วมมือกับภาคเอกชนชั้นนำ 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด, บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำกัด และบริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด ในการส่งเสริมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า, สถานีชาร์จไฟ, และแอปพลิเคชัน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผลักดันการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในรูปแบบของคาร์แชร์ริ่ง เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ Smart Mobility (การสัญจรอัจฉริยะ) ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย มีการจัดสรรทรัพยากรในลักษณะของการแบ่งปัน เพื่อช่วยลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัว และในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยลดมลพิษภายในมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่งด้วย
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ให้บริการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีทั้งหมดสองรุ่น คือ Fomm One และ Hyndai IONIQ ซึ่งเปิดให้จองใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน HAUPCAR เป็นการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการคาร์แชร์ริ่ง (Carsharing) มาให้บริการในรูปแบบใหม่ โดยผู้สนใจสามารถจองใช้บริการได้ทั้งแบบรายวันและรายชั่วโมง
“ Smart City Smart Mobility ” เเค่คุณกล้า เปลี่ยน คุณก็ช่วยโลกได้
หากคุณต้องการเป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาความแออัดและมลพิษที่เกิดจากการใช้รถยนต์ในเมืองใหญ่ สิ่งที่ควรสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง คือ การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ให้สะดวกต่อการใช้งานและมีคุณภาพเทียบเท่ากับการใช้รถยนต์ส่วนตัวที่ใช้น้ำมัน
ตอบโจทย์ Smart City ด้วยเทคโนโลยีจาก HAUPCAR
HAUPCAR ฮ้อปคาร์ ผู้นำด้านบริการคาร์แชร์ริ่งผ่านแอปพลิเคชันรายแรกในประเทศไทย ดึงเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาระบบจองใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรในตัวเมืองอย่างทั่วถึง ภายใต้รูปแบบ “แชร์กันใช้” ช่วยลดความแออัดของจำนวนรถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนน และเชื่อมรอยต่อของการเดินทางที่ขนส่งสาธารณะยังเข้าไม่ถึง โดยบริการฮ้อปคาร์จะผสานเข้ากับวิถีชีวิตของคนเมืองได้อย่างกลมกลืน ดังนี้
ใช้งานผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน จบทุกกระบวนการได้ด้วยตัวเอง
รถยนต์พร้อมใช้งาน จองได้ทั้งแบบรายชั่วโมงและแบบรายวัน
มีจุดรับรถกระจายทั่วกรุงเทพฯ กว่า 200 แห่ง
สามารถกดจองใช้รถล่วงหน้าเพียง 30 นาที ไม่มีค่ามัดจำ
ปลดล็อกรถผ่านแอปฯ ได้เลย ไม่ต้องรอรับกุญแจ
รองรับสังคมไร้เงินสด ด้วยการชำระค่าบริการผ่านบัครเครดิตและบัครเดบิต
HAUPCAR ฮ้อปคาร์ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของยุคสังคมแห่งการแบ่งปัน (Sharing Society) ทำให้พลเมืองใน Smart City สามารถใช้และแชร์ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่าผ่านเทคโนโลยีที่จะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน