จักรยานพลังงานไฮโดรเจน คืออะไร?...
จักรยานพลังงานไฮโดรเจน มีรูปร่างคล้ายจักรยานทั่วไป แต่มีการติดตั้ง เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและอุปกรณ์กักเก็บไฮโดรเจนแรงดันต่ำ โดย เซลล์เชื้อเพลิง จะทำหน้าที่สร้างพลังงานขับเคลื่อนจักรยานเมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนโปรตอน จะได้รับพลังงานไฮโดรเจนจากอุปกรณ์กักเก็บเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
นอกจากนี้ยังมีข้อได้เปรียบกว่า จักรยานไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม เช่น อายุการใช้งานยาวนานกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากจักรยานพลังงานไฮโดเจนจะปลดปล่อยแค่…ไอน้ำ หรือ น้ำ ขณะที่ทำงานเท่านั้น!
หลักการทำงานของ “พลังงานไฮโดรเจน” คือ แทนที่จะชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เหมือนการทำงานของเครื่องยนต์ระบบสันดาปทั่วไป แต่ในทางกลับกัน จะไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไปผลิต “ไฮโดรเจน” แล้วจึงเอา “ไฮโดรเจน” ไปผลิตไฟฟ้า
ดังนั้น มันจึงขับเคลื่อนด้วยพลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ได้จาก “เซลล์เชื้อเพลิง” โดยอาศัย “ไฮโดรเจน” เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า
เมื่อ “ก๊าซไฮโดรเจน” และอากาศผ่านเข้าไปใน “เซลล์เชื้อเพลิง” แล้ว “ไฮโดรเจน” จะแตกตัวอิเล็กตรอน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าส่งไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อน และเมื่ออิเล็กตรอนไหลวนครบวงจรแล้ว ก็จะกลับ “ไฮโดรเจน” ประจุบวก และออกซิเจนที่อยู่ในอากาศ ให้กลายเป็นไอน้ำกลับคืนสู่บรรยากาศ มันจึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษนั่นเองค่ะ
.
.
.
อัพเดตข่าวสาร วงการจักรยานพลังงานไฮโดรเจน
นักวิจัยบราซิลกำลังพัฒนาจักรยานพลังงานไฮโดรเจน เพื่อให้เป็นตัวเลือกการเดินทางแบบใหม่/ยานพาหนะยุคใหม่ ที่ใส่ใจเรื่องของสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษขณะเดินทาง อีกทั้งยังให้ระยะทางวิ่งที่เคลมว่าไกลกว่าจักรยานไฟฟ้าอีกด้วย ตั้งเป้าที่จะทำให้สามารถเข้าถึงการใช้งานโดยคนทั่วไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
โดยทีมนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยสหพันธรัฐ ริโอ เด จาเนโร (UFRJ - Rio de Janeiro’s Federal University) ในบราซิล ได้ศึกษาวิธีการใช้พลังงานไฮโดรเจน กับยานพาหนะใกล้ตัวอย่าง เช่น จักรยาน ผ่านการดัดแปลงต้นแบบของจักรยานพลังงานไฮโดรเจนจำนวน 4 คัน ที่สร้างขึ้นในฝรั่งเศส
โดยจักรยานแต่ละคัน จะมีกระบอกสูบขนาด 2 ลิตรในตัว ซึ่งเป็นขนาดที่ใกล้เคียงกับขวดน้ำดื่มขนาดใหญ่ โดยแต่กระบอก สามารถกักเก็บพลังงานไฮโดรเจนได้มากพอที่จะใช้ปั่นจักรยานได้เป็นระยะทางกว่า 150 กิโลเมตร ตัวเลขระยะทางนี้ ถือว่าเป็นระยะทางที่ทำได้ไกลกว่าการใช้จักรยานไฟฟ้าทั่วไป ที่มักจะใช้เดินทางได้ประมาณ 15 กิโลเมตรก่อนที่จะต้องชาร์จพลังงานใหม่ อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าจักรยานไฟฟ้า เนื่องจากไม่มีแบตเตอรี่ ซึ่งโดยปกติแล้วจักรยานไฟฟ้าส่วนใหญ่ มักจะใช้งานแบตเตอรี่ลิเธียม ที่ในระหว่างการผลิต จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเมื่อหมดอายุการใช้งาน แบตเตอรี่เหล่านี้ก็จะต้องนำไปเข้ากระบวนการกำจัด ซึ่งถ้าหากทำไม่ถูกวิธีก็อาจจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม การใช้งานจักรยานพลังงานไฮโดรเจน ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน นั่นก็คือในขณะที่แบตเตอรี่ลิเธียม สามารถนำไปชาร์จพลังงานใหม่ได้ที่บ้าน แต่การใช้งานจักรยานพลังงานไฮโดรเจน จำเป็นที่จะต้องมาเติมพลังงานใหม่ที่จุดเติมเฉพาะทาง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะหาทางแก้ไขต่อไป เพื่อให้สะดวกแก่การใช้งานของคนส่วนใหญ่มากขึ้น
โดยในอนาคต ทางทีมวิจัยหวังว่า… พวกเขาจะสามารถสร้างกระบอกสูบแบบรีฟิล หรือแบบที่เติมพลังงานใหม่ได้ง่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถถอดเปลี่ยนเองได้ขณะเดินทาง ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายการเป็นยานพาหนะยุคใหม่ ที่สามารถใช้เดินทางในเมือง ช่วยลดการใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิลได้มากขึ้น
แหล่งข้อมูล : https://www.h2verdebrasil.com.br/noticia/rio-de-janeiro-ganha-planta-piloto-de-hidrogenio-verde/
https://apvideohub.ap.org/welcome
Looking for assistance with your Law Dissertation help? Get customized solutions that cater to your academic needs. Whether it’s essays, dissertations, or case studies, professional help is just a click away.